ทัวร์นิวซีแลนด์ใช้เงินเท่าไหร่

tour-006

มีหลายคนสอบถามมาว่าการใช้เงินเพื่อไปทัวร์นิวซีแลนด์ในแต่ละครั้งนั้นต้องใช้เงินมากน้อยแค่ไหนซึ่งต้องบอกเลยครับว่าหากเป็นสมัยก่อนแล้วการทัวร์นิวซีแลนด์ในแต่ละครั้งอย่างน้อยต้องใช้เงินหลักแสนพอๆ กับไปทัวร์ยุโรปเลยทีเดียวดังนั้นในสมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีใครคิดที่จะไปทัวร์นิวซีแลนด์กันสักเท่าไหร่นัก
แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยการเดินทางและการสื่อสารต่างๆ ที่สะดวกสบายมากขึ้นประกอบกับการที่ประเทศนิวซีแลนด์เองเปิดเมืองให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เข้ามาท่องเที่ยวกันมากขึ้นจึงทำให้สนนราคาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทัวร์นิวซีแลนด์นั้นขยับลงมาอย่างมากจนแทบจะถูกกว่าสมัยก่อนเกือบครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
ในการไปทัวร์นิวซีแลนด์ในปัจจุบันนั้นหากไปกับบริษัททัวร์หรือคณะทัวร์หากเป็นโปรแกรม 5 วันสนนราคาจะอยู่เบ็ดเสร็จที่ประมาณ 45,000 –50,000 บาทแล้วแต่บริษัท แล้วแต่โปรแกรมทัวร์ในขณะที่โปรแกรม 7 วันจะมีราคาอยู่ที่ 65,000 – 75,000 บาททั้งนี้ทั้งสองโปรแกรมยังไม่รวมเงินที่ใช้จ่ายในระหว่างการเดินทางหรือที่เราเรียกกันว่า pocket money สำหรับซื้อของใช้ ของฝากครับ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่าแม้ว่าสนนราคาในการไปทัวร์นิวซีแลนด์จะลดลงมามากก็จริงแต่ก็ยังถือว่าสูงอยู่สำหรับผู้ที่ทำงานหาเช้ากินค่ำหรือกำลังสร้างเนื้อสร้างตัวดังนั้นบางทีการที่เรารู้จักพอเพียงลองหันกลับมามองการท่องเที่ยวในบ้านเรา มองจังหวัดที่ยังไม่เคยไปเที่ยวหรือมองการท่องเที่ยวในแถบเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา แทน บางทีก็อาจเป็นแนวคิดที่ดีก็เป็นได้ครับ

3 สถานที่ทัวร์เนปาล น่าเที่ยว

สถานที่ส่วนใหญ่ในเนปาลนั้นจะคล้าย ๆ กับบ้านเราตรงที่ส่วนใหญ่จะเป็นวัดวาอารามที่เกี่ยวกับกับศาสนาค่ะ แต่นอกจากนี้ก็ยังมีสถานที่ธรรมชาติสวย ๆ อีกมากเลยที่รอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัส แต่การมาเนปาลนั้นคุณจะต้องเดินทางสัมผัสวิถีชิวิตของชาวบ้านด้วยค่ะ เพราะแต่ละสถานที่นั้นไม่มีรถไฟฟ้าบนดิน หรือใต้ดิน ไม่มีการคมนาคมที่ไฮเทค ส่วนใหญ่จะต้องเดินทาง ซึ่งเป็นการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง ซึ่งวันนี้ก็มีสถานที่ทัวร์เนปาลน่าสนใจมาฝากกันด้วยค่ะ

napal-01
1. ทัวร์เนปาล หุบเขาโปรขระ โภคราหรือโพคารา
เป็นหนึ่งในหุบเขา 7 ลูกที่ล้อมรอบประเทศเนปาลค่ะ ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่ที่นักท่องเที่ยวมาทัวร์เนปาลก็คงไม่พ้นการมาปีนเขาเพื่อพิชิตจุดสูงสุดหุบเขาแห่งนี้นั้นอยู่ติดกับประเทศอินเดียค่ะโดยมียอดเขาซารางกอตเป็นเทือกเขาใหญ่ เป็นเขาที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมากันมากเลยทีเดียว หากขึ้นมาถึงยอดเขาแล้วนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ ของเขาเธาละคีรี เขามนะสลู เขามัชฉาปุรณะ และเขาอรรณาปุรณะค่ะ

napal-02
2. ทัวร์เนปาล ยอดเขาอันนะปุรณะ
เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในเขาโปคราค่ะ เรียกได้ว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเนปาล ที่มีภูมิศาสตร์ที่หลากหลายมากค่ะ แม้ว่ายอดเขาเอเวอร์เรสต์จะโด่งดังเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่จริง ๆ ในแต่ละปีมีนักไต่เขามาที่อันนะปุรณะมากถึง 40000 คนต่อปีเลยค่ะ เพราะยอดเขาแห่งนี้นั้นมีสภาพอากาศที่หลากหลาย และมีทะเลสาปในหุบเขา ตั้งแต่อากาศร้อนชื้นไปจนถึงเป็นภูเขาน้ำแข็งในเวลาเดียวกัน จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับนักปีนเขาค่ะ

napal-00
3. ทัวร์เนปาล นครโกฏ
เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่เงียบสงบและมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมากค่ะ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในการมาทัวร์เนปาลมาก ๆ โดยเมืองแห่งนี้อยู่เหนือระดับน้ำทะเลถึง 2175 เมตรเลย รอบด้านเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามของยอดเขาสการ์มาถะหรือยอดเขาเอเวอร์เรส ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะนิยมเดินทางมาชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่เมืองแห่งนี้ค่ะ

ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งประเทศมาเลเซีย

ทัวร์มาเลเซียขออินเทรนด์ไปกับ AEC เลยขอนำเสนอประวัติความเป็นมาของ 1 ในประเทศเพื่อนบ้าน นั่นก็คือ ประเทศมาเลเซีย จ้า

tour-011
จากข้อมูลประวัติศาสตร์ มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากทั้งอินเดียและจีน ศูนย์กลางแห่ง อารยธรรมเก่าแก่ทั้งสองตั้งอยู่ทางตะวันตกและตะวันออก อิทธิพลนี้รุนแรงมากในบางยุคโดยเฉพาะ อิทธิพลจากอินเดีย มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยต้นและศาสนา ของตน อิทธิพลจีนจะน้อยกว่า ดังที่เราจะเห็นว่าอิทธิพลของจักรวรรดิจีนส่วนใหญ่มักจะไม่มีในทางตรง นอกจากนี้ ที่ตั้งภูมิศาสตร์ก็เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อมาเลเซียในประวัติศาสตร์สมัยต้น ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ที่มาเลเซียตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีนเท่านั้น ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์อื่น ๆ ยังช่วยเพิ่มพูนความสำคัญ ของที่ตั้งของมาเลเซียอีกด้วย ต่างจากประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศที่อยู่ครึ่งทางระหว่างอินเดียและจีน แต่น้อยประเทศที่มีข้อได้เปรียบเป็นพิเศษแบบมาเลเซีย
มาเลเซียตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรที่ยื่นออกไปทางใต้จากผืนทวีปเอเชียและ ล้อมรอบด้วยทะเลเกือบหมด ถ้าต้องการแล่นเรือออกจากเมืองจีนไปยังอินเดียก็จะต้องแล่นเลียบฝั่ง มาเลเซียทั้งทางตะวันออกและตะวันตก แต่ถ้าหากว่าไม่ต้องการแล่นเรือไปตลอดทางคาบสมุทรมลายูซึ่ง แคบในตอนเหนือก็เป็นสถานที่ที่อำนวยความสะดวกที่สุดสำหรับการถ่ายเทสินค้าจากทะเลจีนไปยัง มหาสมุทรอินเดีย คาบสมุทรมลายูและชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวก็มีบทบาท สำคัญในแผนการเดินทาง ทั้งนี้เพราะลมมรสุมเป็นปัจจัยสำคัญทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ เนื่องจากมาเลเซียเป็นสถานที่ที่ลมมรสุมพัดมาบรรจบกัน แต่ในสมัยที่มีการเดินเรือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ลมมรสุมเป็นลมที่พัดจากสองทิศทางตามเวลาต่างกันในรอบปี ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดข้ามมหาสมุทรอินเดียจากเส้นศูนย์สูตรระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากฝั่งทะเลจีนและข้ามทะเลจีนระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน กล่าวได้ว่าลมมรสุมทั้งสองนี้จะมาบรรจบกันที่คาบสมุทรมลายูหรือโดยทั่ว ๆ ไปก็ในบริเวณหมู่ เกาะมาเลเซีย เรือที่แล่นมาจากเมืองจีนก็จะแล่นลงมาทางใต้ตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเรือ ที่มาจากอินเดียก็จะมาทางตะวันออกตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อลมมรสุมเปลี่ยน เรือก็สามารถ เดินทางกลับได้ ฉะนั้นคาบสมุทรมลายูและฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวจึงอยู่ในที่ตั้งที่ ได้เปรียบในการอำนวยที่จอดพักสำหรับผู้ที่จะเดินทางโดยตลอดจากอินเดียไปยังจีน หรือสำหรับผู้ที่จะ รอคอยลมมรสุมเปลี่ยนหรือสำหรับผู้ที่จะเดินทางเพียงครึ่งทางเท่านั้นแต่จะได้พบปะกับพวกพ่อค้า ด้วยกัน ณ “ที่พักครึ่งทาง” แห่งนี้ อาทิ พ่อค้าชาวจีนสามารถลงมาทางใต้ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน ทำธุรกิจของตนให้เสร็จเรียบร้อยแล้วเดินทางกลับได้ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือน สิงหาคม
ด้วยเหตุนี้ มาเลเซียจึงก้าวเข้ามามีความสำคัญในประวัติศาสตร์โลก เพราะมี ข้อได้เปรียบจากสภาพทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย อันที่จริงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียนับว่าเป็นปัจจัย ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึง ถ้าเราต้องการจะเข้าใจอดีตและแม้แต่ปัจจุบันหรืออนาคตของมาเลเซีย ภูมิศาสตร์ได้ชักนำมาเลเซียให้เข้ามาสู่เวทีประวัติศาสตร์โลก และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีประเทศอื่นขนาบแต่ เปิดโล่งให้แก่โลกภายนอก ดังนั้น มาเลเซียจึงได้สัมผัสกับอารยธรรมต่าง ๆ และคนชาติต่าง ๆ มาก ใน ประวัติศาสตร์สมัยแรก ๆ ของมาเลเซีย คนชาติต่าง ๆ เหล่านี้นำเอาวัฒนธรรมและอารยธรรม การค้าและ การพาณิชย์ ศาสนาต่าง ๆ และระบบการเมืองต่าง ๆ มาให้มาเลเซีย ต่อมาก็มีผู้คนจากอินเดียและจีนเขามา ตั้งถิ่นฐาน ในชั้นแรกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อแหล่งแร่และแหล่ง กสิกรรมของมาเลเซียถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้ว จึงมีผู้เข้ามาตั้งหลักแหล่งกันเป็น จำนวนมาก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียยังทำให้มาเลเซียได้รับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับแต่ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อีกด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีมาตรฐาน การครองชีพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียทุกวันนี้ การที่ที่ตั้งของมาเลเซียอยู่ใกล้เส้นทางการค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตก ย่อมหมายถึงว่ามาเลเซียได้เรียนรู้สิ่งประดิษฐ์ของยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น จากสภาพภูมิศาสตร์จึงทำให้มาเลเซียมีพลเมืองหลายชาติหลายภาษา และกลายเป็น ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย รวมทั้งเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของคณะทัวร์มาเลเซียด้วย
หากย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย เราก็จะได้เห็นว่า เส้นทางการค้าและการเดินทางสำรวจมีอิทธิพลต่อฐานะของมาเลเซียในโลกอย่างไร เรา จะเห็นว่ามลายูและบรูไนรุ่งเรืองนับแต่ในสมัยที่มีสุลต่านปกครองมะละกาเมื่อการค้าระหว่างตะวันออก กับตะวันตกผ่านเข้ามาทางช่องแคบมะละกา และมะละกาเองก็เป็นเมืองท่าสำหรับหมู่เกาะทั้งหมดด้วย ต่อมาเมื่อการค้าของเขตนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวฮอลันดา เส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่าง ตะวันออกและตะวันตกได้ผ่านไปทางช่องแคบซุนดา ทำให้ปัตตาเวีย (จาการ์ตา) เจริญรุ่งเรืองขึ้น ส่วนมะละกาและบรูไนก็เสื่อมลง การเปลี่ยนแปลงยังเกิดขึ้นต่อไปอีกเมื่อมลายูเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในทาง การเมืองระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออังกฤษรื้อฟื้นความสนใจของตนในมาเลเซียในตอนปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 การก่อตั้งถิ่นฐานในปีนังและสิงคโปร์ได้ทำให้การค้ากลับคืนสู่ช่องแคบมะละกามาก ขึ้น และในที่สุดก็ทำให้เกิดการพัฒนาสินแร่อันอุดมสมบูรณ์ของมาเลเซียสมัยใหม่ และในระยะเดียวกันนี้ ชาวอังกฤษได้เริ่มให้ความสนใจซาราวักและซาบาห์อันนำไปสู่การมีอิทธิพลของอังกฤษขึ้นที่นั่น เพราะฉะนั้น ฐานะของมาเลเซียในประวัติศาสตร์จึงขึ้น ๆ ลง ๆ ตามความสนใจของชาติมหาอำนาจและ การล่าอาณานิคมเมืองขึ้นจากโลกตะวันตก
นอกจากนี้ การแผ่ขยายของศาสนาอิสลามทำให้เกิดการก่อตั้งระบบสุลต่าน หรืออิทธิพล จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้งสเตรตส์ เซ็ตเติลเมนท์ (Straits settlements) อันเป็นการกำหนดท่าทีอย่างชัดเจนของอังกฤษต่อภูมิภาคส่วนนี้ยังผลให้เกิดอิทธิพลการคุ้มครองของ อังกฤษเหนือรัฐมลายู จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จีนจึงเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อมาเลเซียแต่ยังนับว่า น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับอิทธิพลของอินเดีย และถึงแม้ว่ามาเลเซียจะตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างจีนกับ อินเดีย แต่ในระหว่างศตวรรษก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น อินเดียก็ยังมีอิทธิพลอยู่ในคาบสมุทรและหมู่ เกาะของมาเลเซียมากกว่าจีนอยู่นั่นเอง